โลโก้เว็บไซต์ คณะนักวิจัย มทร.ล้านนา ลำปาง พร้อมที่ปรึกษาลงพื้นที่ อ่างเก็บน้ำผาลาด ภายใต้ โครงการสร้างชุดความรู้การบริหารจัดการน้ำและป่าต้นน้ำโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ต.ทุ่งผึ้ง อ.แจ้ห่ม | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง

คณะนักวิจัย มทร.ล้านนา ลำปาง พร้อมที่ปรึกษาลงพื้นที่ อ่างเก็บน้ำผาลาด ภายใต้ โครงการสร้างชุดความรู้การบริหารจัดการน้ำและป่าต้นน้ำโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ต.ทุ่งผึ้ง อ.แจ้ห่ม

เผยแพร่เมื่อ : ศุกร์ 18 มกราคม 2562 โดย จตุพร โปธาคำ จำนวนผู้เข้าชม 828 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

     คณะนักวิจัย มทร.ล้านนา ลำปาง พร้อมที่ปรึกษาลงพื้นที่ อ่างเก็บน้ำผาลาด ภายใต้ โครงการสร้างชุดความรู้การบริหารจัดการน้ำและป่าต้นน้ำโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ต.ทุ่งผึ้ง อ.แจ้ห่ม

     อาจารย์เรืองพันธุ์  ทรัพย์มีหัวหน้าชุดโครงการวิจัยฯ เปิดเผยว่า  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง ได้รับการสนับสนุนการวิจัยจากสำนักงานสนับสนุนการวิจัย (สกว.ฝ่ายท้องถิ่น) ประจำปี 2561 ให้ดำเนินโครงการวิจัยพื้นที่ตำบลทุ่งผึ้ง อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง และได้เริ่มดำเนินโครงการตั้งแต่เดือนกันยายน 2561 เป็นต้นมา ในการลงพื้นที่ครั้งนี้มีแผนปฏิบัติงานในพื้นที่อ่างเก็บน้ำผาลาด ซึ่งเป็นแหล่งน้ำของระบบประปาภูเขาเพื่ออุปโภคบริโภคของประชาชนในหมู่บ้านแจ้คอน (หมู่ 2 ) และบ้านแจ้คอน (หมู่ 6 )

     ด้านอาจารย์สิงหา คำมูลตา หัวหน้าโครงการย่อยฯ กล่าวว่า ประเด็นปัญหาที่พบจากการศึกษาสภาพพื้นที่จริง ได้แก่ วิกฤติน้ำเหนืออ่างผาลาดมีปริมาณน้อย, เส้นทางท่อตามแนวลำห้วยวางตามธรรมชาติ บางช่วงตัดผ่านลำห้วยแม่ป่อย, หน้าแล้งน้ำในลำห้วยแม่ป่อยมีน้ำน้อย ท่อได้รับความเสียหายจากภัยธรรมชาติ, การเลี้ยงสัตว์แบบปล่อย (สัตว์เหยีบท่อส่งน้ำ), พื้นที่การเกษตรบางช่วงฝังท่อตื้นเห็นท่อส่งน้ำ บางช่วงตัดข้ามผ่านถนน, น้ำล้นถังพัก มัการต่อท่อน้ำล้นไปใช้ในการเกษตร

     ทั้งนี้คณะวิจัย มทร.ล้านนา ลำปาง ที่ลงพื้นที่ประกอบด้วย อาจารย์เรืองพันธุ์, ดร.สุชิน  เพ็ชรักษ์ ที่ปรึกษาศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นจังหวัดลำปาง, อาจารย์สิงหา คำมูลตา, ดร.ปัญจพร ศรีชนาพันธ์, อาจารย์ณัฐนรี ทองดีพันธ์  นางนภาพร ขยันดี ผู้ช่วยผู้ประสานงาน ศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นจังหวัดลำปาง


ข่าว : จารุวรรณ สุยะ

เรียบเรียงข่าว /ภาพ : จตุพร โปธาคำ



 







ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

Facebook Messenger icon