เผยแพร่เมื่อ : พุธ 3 เมษายน 2567 โดย ณัฏฐ์พัฒน์ คนมีฉลาด จำนวนผู้เข้าชม 1350 คน
ระหว่างวันที่ ๒ - ๓ เมษายน ๒๕๖๗ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา (สวส.มทร.ล้านนา) จัดโครงการ “ การอบรมเชิงปฏิบัติการ การประยุกต์ใช้งานปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI) สำหรับการเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอนและนวัตกรรม " ณ ห้องฝึกอบรม ๒ อาคารหอสมุด สวส.มทร.ล้านนา ได้รับเกียรติจากผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ลือโขง ผู้อำนวยการ สวส.มทร.ล้านนา กล่าวเปิดงาน กลุ่มเป้าหมายที่สนใจและลงทะเบียนเข้าร่วมการอบรมฯ คือ อาจารย์ และบุคลากร จาก มทร.ล้านนา ๖ พื้นที่
การอบรมฯ เเบ่งเป็น ๒ วัน ประกอบด้วย วันแรก (๒ เมษายน ๒๕๖๗) อบรมในหัวข้อ “การนำ AI มาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพด้านการวิจัยและนวัตกรรม” Chat GPT โดยมีรายละเอียด คือ การใช้งาน Chat GPT สำหรับการสืบค้นข้อมูลทบทวนวรรณกรรม และทำงานวิจัย เทคนิคการสืบค้นข้อมูลโดยใช้ AI รวมไปถึงการใช้ AI ในการพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรม มีรองศาสตราจารย์ ดร.เอกรัฐ บุญเชียง รองคณบดีวิทยาลัยพหุวิทยาการและสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นวิทยากรการอบรมฯ ส่วนวันที่สอง (๓ เมษายน ๒๕๖๗) อบรมในหัวข้อ “ให้ AI เป็น Buddy งานวิจัยและนวัตกรรมการเรียนการสอน” โดยมีรายละเอียด คือ การรู้จักเครื่องมือการเขียน/ผลิต/แปลบทความด้วย AI และ การใช้งาน AI Tools : Chat GPT/Brad Gemini / Poe/Bingรอง มีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พฤฒิพงศ์ เพ็งศิริ อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มทร.ล้านนา ตาก เป็นวิทยากรการอบรมฯ
วัตถุประสงค์ของการอบรมฯ ด้วย สวส.มทร.ล้านนา เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่และความรับผิดชอบในการสนับสนุน ให้บริการข้อมูลและสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการองค์กร การจัดกิจกรรมทางการเรียน การสอน เพื่อสนับสนุนการศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันเทคโนโลยีเกี่ยวกับปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI) ที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก ที่จะเข้ามาช่วยในการจัดการเรียน การสอน และการสร้างนวัตกรรมทางารศึกษา งานวิจัยและนวัตกรรม รวมไปถึงสามารถเลือกใช้เครื่องมือในการประยุกต์ใช้กับวานได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
ข่าว : ณัฏฐ์พัฒน์ คนมีฉลาด กลุ่มงานบริการการศึกษา สวส.มทร.ล้านนา
ภาพ : ชัชวาลย์ ศะศิวนิชย์ กลุ่มงานบริการการศึกษา สวส.มทร.ล้านนา
ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา