โลโก้เว็บไซต์ บันทึกแนวทางการปฏิบัติที่ดี ชื่อผลงาน เทคนิคการเขียนคู่มือการปฏิบัติงาน | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง

บันทึกแนวทางการปฏิบัติที่ดี ชื่อผลงาน เทคนิคการเขียนคู่มือการปฏิบัติงาน

เผยแพร่เมื่อ : ศุกร์ 4 มิถุนายน 2564 โดย วัชรินทร์ สิทธิตัน จำนวนผู้เข้าชม 1197 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

คู่มือการปฏิบัติงานเปรียบเสมือนแผนที่บอกเส้นทางการทํางานที่มีจุดเริ่มต้น และสิ้นสุดของกระบวนการ ที่ระบุถึงขั้นตอน รายละเอียดของกระบวนการต่างๆ ขององค์กร และวิธีควบคุมกระบวนการ  มักจัดทําขึ้นสําหรับลักษณะงานที่ซับซ้อน มีหลายขั้นตอนและเกี่ยวข้องกับคนหลายคน และสามารถปรับปรุงเปลี่ยนแปลงได้เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปฏิบัติงาน  การจัดทำคู่มือการปฏิบัติงานทําให้ได้งานที่มีคุณภาพตามที่กําหนด ผู้ปฏิบัติงานไม่เกิดความสับสน แต่ละหน่วยงานรู้งานซึ่งกันและกัน บุคลากรหรือเจ้าหน้าที่สามารถทํางานแทนกันได้ สามารถปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องและรวดเร็วเมื่อมีการโยกย้ายตําแหน่งงาน ลดขั้นตอนการทํางานที่ซับซ้อน ลดข้อผิดพลาดจากการทํางานที่ไม่เป็นระบบ ช่วยในการออกแบบระบบงานใหม่และปรับปรุงงาน ฯลฯ  ซึ่งในการจัดทำคู่มือการปฏิบัติงาน ผู้จัดทําจะต้องมีทักษะในด้านการวิเคราะห์ การสื่อสาร ออกแบบ และการประเมินผล

การจัดการความรู้เรื่องเทคนิคการเขียนคู่มือการปฏิบัติงาน ดําเนินการโดยการจัดกิจกรรมเติมเต็มความรู้และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แบ่งปันความรู้จนได้องค์ความรู้เกี่ยวกับการจัดทําคู่มือการปฏิบัติงาน ผลการดําเนินการจัดการความรู้ดังกล่าวทําให้บุคลากรสายสนับสนุน ได้มีองค์ความรู้ที่สามารถนําไปประยุกต์ใช้     ในการจัดทําคู่มือการปฏิบัติงานในหน้าที่ที่ตนเองรับผิดชอบ การมีคู่มือการปฏิบัติงานช่วยให้สามารถทํางานได้ง่ายขึ้น คนทํางาน "รู้งาน” ผู้บังคับบัญชา “ได้งานมาตรฐานเดียวกัน องค์กรมีประสิทธิภาพ” ผู้รับบริการ   "พึงพอใจ”






ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

Facebook Messenger icon