โลโก้เว็บไซต์ สาขาอุตสาหกรรมเกษตร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มทร.ล้านนา ลำปาง จัดอบรมการใช้เครื่องมือ Spectrophtometer สำหรับอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง

สาขาอุตสาหกรรมเกษตร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มทร.ล้านนา ลำปาง จัดอบรมการใช้เครื่องมือ Spectrophtometer สำหรับอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม

เผยแพร่เมื่อ : พฤหัสบดี 13 มิถุนายน 2562 โดย จตุพร โปธาคำ จำนวนผู้เข้าชม 1498 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

     สาขาอุตสาหกรรมเกษตร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มทร.ล้านนา ลำปาง จัดอบรมเชิงปฎิบัติการเรื่อง เทคนิคการประยุกต์ใช้เครื่องมือ Spectrophtometer สำหรับอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม

     เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2562 ที่สาขาอุตสาหกรรมเกษตร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง (มทร.ล้านนา ลำปาง) จัดโครงการฝึกอบรมเชิงปฎิบัติการ เรื่อง เทคนิคการประยุกต์ใช้เครื่องมือ Spectrophtometer สำหรับอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม ภายใต้งบประมาณโครงการวิจัย เรื่อง การพัฒนาศักยภาพระบบปฎิบัติการศูนย์นวัตกรรมเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพแบบครบวงจร เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยในยุคโมเดล Thailand 4.0 โดยมีคณาจารย์ บุคลากร และนักศึกษา สาขาอุตสาหกรรมเกษตร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มทร.ล้านนา ลำปาง ผู้ประกอบการและผู้สนใจทั่วไป เข้าร่วมโครงการ จำนวน 75 คน

     สำหรับโครงการจัดอบรมเชิงปฎิบัติการเรื่อง เทคนิคการประยุกต์ใช้เครื่องมือ Spectrophtometer สำหรับอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม ได้รับเกียรติจากคุณประจุพร  มณีรัตนสาร เป็นวิทยกร มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความรู้และเพิ่มทักษะการใช้เครื่องดังกล่าวให้แก่อาจารย์ เจ้าหน้าที่ นักศึกษา ประชาชนและผู้ประกอบการ ซึ่งเป็นการถ่ายทอดความรู้และทักษะทางวิชาการ และการบูรณาการจัดการเรียนการสอน และงานบริการวิชาการ

ข่าว : จตุพร โปธาคำ
ภาพ : รุ่งเรืองรัตน์  แผ่นทอง
แหล่งข่าว : โครงการวิจัย การพัฒนาศักยภาพระบบปฎิบัติการศูนย์นวัตกรรมเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพแบบครบวงจร เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยในยุคโมเดล Thailand 4.0 สาขาอุตสาหกรรมเกษตร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง (มทร.ล้านนา ลำปาง) 







ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

Facebook Messenger icon