โลโก้เว็บไซต์ ติดตามผลการดำเนินงานโครงการยกระดับฯ 2561 กลุ่มฮักน้ำจาง | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง

ติดตามผลการดำเนินงานโครงการยกระดับฯ 2561 กลุ่มฮักน้ำจาง

เผยแพร่เมื่อ : จันทร์ 25 มิถุนายน 2561 โดย นางสาวหนึ่งฤทัย แสงใส จำนวนผู้เข้าชม 2937 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

วันที่ 25 มิถุนายน 2561 สถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ได้จัดโครงการติดตามผลการดำเนินงานโครงการยกระดับคุณภาพชีวิตของหมู่บ้านชุมชนและภาคอุตสาหกรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2561 โอกาสนี้ ได้รับเกียรติจากผู้ทรงคุณวุฒิ รศ.ดร.อภิรักษ์ เพียรมงคล ดร.อรุณี ยศบุตร และบุคลากรสถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน ผศ.พงศ์ยุทธ นวลบุญเรือง หัวหน้าโครงการ และคณะกรรมการดำเนินโครงการฯ ร่วมตรวจเยี่ยมพื้นที่ดำเนินงานของโครงการ สถาบันวิจัยเทคโนโลยีเกษตร กำหนดพื้นที่ดำเนินโครงการยกระดับคุณภาพชีวิตของหมู่บ้าน ชุมชน แบบมีส่วนร่วม กรณีกลุ่มฮักน้ำจาง หมู่บ้านนากว้าว(กิ่ว) หมู่ที่ 4 ตำบลบ้านกิ่ว อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง ซึ่งได้ดำเนินงานเป็นปีแรก ลักษณะการดำเนินงานของกลุ่มฮักน้ำจางมีความเข้มแข็งมาก มีคำขวัญของกลุ่มคือ พอเพียง พออยู่ พอกิน และยั่งยืนมีความพร้อมของพื้นที่ แหล่งน้ำ การบูรณาการของหน่วยงานในส่วนของศูนย์เฮียนฮู้โฮงเฮียนพอเพียงกลุ่มฮักน้ำจาง ผักอินทรีย์ฮักน้ำจาง เริ่มเมื่อปลายปี 2549 จากการที่เกษตรกรกลุ่มหนึ่งในหมู่บ้านมีหนี้สินจากภาคเกษตรกรรม ได้ทำการขึ้นทะเบียนหนี้สินเกษตรกร จึงเริ่มปลูกผักสวนครัวสร้างรายได้แต่ยังไม่มีตลาดรองรับ เกษตรกรยังขาดความรู้ จนกระทั่งปี 2552 ได้ไปศึกษาดูงานด้านการเกษตร จึงเกิดแรงบันดาลใจในการดำเนินชีวิตแบบพอเพียง ริเริ่มการปลูกผักอินทรีย์ ไม่ใช้สารเคมีจนกระทั่งปี 2555 ชื่อเสียงของผักอินทรีย์ฮักน้ำจาง ได้เข้าสู่ห้างผ่านเครือข่ายเพชรล้านนา แต่การผลิตผักพื้นบ้านยังอาศัยภูมิปัญญาดั้งเดิมทำให้ทางกลุ่มที่ต้องการเพิ่มรายได้ยังไม่สามารถผลิตได้สม่ำเสมอตามความต้องการของตลาด กิจกรรมตามแผนงานที่ได้ดำเนินการแล้วได้แก่ 1.การวางแผนและประชุมทำความเข้าใจสร้างความตระหนักบูรณาการความรู้และการบริหารจัดการด้านต่าง ๆ และเก็บข้อมูลด้านต่าง ๆ 2.การพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตผักอินทรีย์แบบมีส่วนร่วมในชุมชนจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมของชุมชน 3.การลงพื้นที่ติดตาม บ่มเพาะ ให้คำปรึกษาในพื้นที่ กิจกรรมที่จะดำเนินการหลังจากการติดตามประเมินผลได้แก่การศึกษาดูงานและทำเวทีคืนความรู้สู่ชุมชน

เรื่อง : นางสาวหนึ่งฤทัย แสงใส

ภาพ : นายจักรรินทร์ ชื่นสมบัติ







ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา