โลโก้เว็บไซต์ ทีม เส้นฝ้าย ลายทอใจ คว้ารางวัลรองชนะเลิศ Best of the Best ออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น ประจำปี 2565 ระดับประเทศ | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง

ทีม เส้นฝ้าย ลายทอใจ คว้ารางวัลรองชนะเลิศ Best of the Best ออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น ประจำปี 2565 ระดับประเทศ

เผยแพร่เมื่อ : พุธ 2 พฤศจิกายน 2565 โดย รัตนาภรณ์ สารภี จำนวนผู้เข้าชม 1806 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

 

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ร่วมแสดงความยินดีกับ ทีม เส้นฝ้าย ลายทอใจ (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา) ธนาคารออมสินภาค 8 กลุ่มผ้าทอกระเหรี่ยงผู้บกพร่องทางสายตา อำเภออมก๋อย : ผ้าทอลายเนตรฤทัย นักศึกษาชั้นปีที่ 4 หลักสูตรสิ่งทอและเครื่องประดับ คณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ ภายใต้การดูแลและให้คำปรึกษาโดย ผศ.ไพโรจน์ วรพจน์พรชัย อาจารย์ประจำหลักสูตรสิ่งทอและเครื่องประดับ คณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ในการเข้าร่วมนำเสนอผลสัมฤทธิ์ "โครงการพัฒนาหัตถกรรมผ้าทอกะเหรี่ยงผู้พิการทางสายตา อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่" รอบ 12 ทีม จาก 65 ทีมทั่วประเทศ เพื่อค้นหารางวัลสุดยอด Best of the Best ของแต่ละประเภท ได้แก่ กินดี อยู่ดี สวยดี ใช้ดี รักษ์ดี และคิดดี โดยมีทีมงานสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ร่วมสนับสนุนการถ่ายทอดสัญญาณออนไลน์ ผ่านระบบ Microsoft Teams เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2565 ที่ผ่านมา และคว้ารางวัลรองชนะเลิศ ประเภทสวยดี จากการประกวดผลงานรางวัล Best for the Best สำหรับนักศึกษา โครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น ปี 2565 ระดับประเทศ

 

ทั้งนี้ ทีมนักศึกษาที่ได้รับรางวัล (ชนะเลิศ) Best of The Best ทั้ง 7 ทีม ร่วมรับมอบโล่เกียรติยศ และใบประกาศเกียรติคุณ พร้อมนำเสนอผลสัมฤทธิ์การดำเนินงานอีกครั้ง ในวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ.2565 ณ หอประชุมบุรฉัตร ธนาคารออมสิน สำนักงานใหญ่ กรุงเทพฯ ในลำดับถัดไป

 

โครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น เป็นโครงการที่จัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมศักยภาพของกลุ่มองค์กรชุมชน ประเภทกลุ่มวิสาหกิจชุมชน หรือกลุ่มผู้ประกอบการ OTOP ให้สามารถบริหารจัดการกลุ่ม พัฒนาผลิตภัณฑ์ให้สามารถเข้าสู่ตลาด เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน ตลอดจนสร้างประสบการณ์การเรียนรู้การทำงานเป็นกลุ่มให้กับนักศึกษาสามารถต่อยอดองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาศักยภาพตนเอง เมื่อออกสู่ตลาดแรงงาน

 

ข้อมูล คณะกรรมการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น ประจำปี พ.ศ. 2565
ภาพ ณัฏฐ์พัฒน์ คนมีฉลาด, คณะกรรมการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น ประจำปี พ.ศ. 2565
เรียบเรียง รัตนาภรณ์ สารภี







ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา