โลโก้เว็บไซต์ มทร.ล้านนา ลำปาง ลงพื้นที่จังหวัดลำพูน เดินหน้าโครงการ U2T BCG 2 พื้นที่ | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง

มทร.ล้านนา ลำปาง ลงพื้นที่จังหวัดลำพูน เดินหน้าโครงการ U2T BCG 2 พื้นที่

เผยแพร่เมื่อ : อังคาร 12 กรกฎาคม 2565 โดย จารุวรรณ สุยะ จำนวนผู้เข้าชม 604 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

วันที่ 7 กรกฎาคม 2565 ผู้ช่วยศาสตราจารย์กนกวรรณ  เวชากา อาจารย์คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ และอาจารย์กีรติ วุฒิจารี อาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ ผู้รับผิดชอบโครงการ U2T BCG  พื้นที่จังหวัดลำพูนของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง  ลงพื้นที่ตำบลหนองปลาสะวาย อำเภอบ้านโฮ่ง และตำบลบ้านเรือน อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน เพื่อชี้แจงข้อมูลประสานความร่วมมือโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T BCG)  แก่องค์กรปกครองท้องถิ่นและกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่  เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนการพัฒนาทั้งภาคีท้องถิ่น มหาวิทยาลัย และ กลุ่มประชาชนผู้ประกอบการ รวมถึงการจ้างงานภาคบัณฑิตและภาคประชาชนในพื้นที่

สำหรับโครงการ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T BCG)   หรือโครงการ “มหาวิทยาลัยสู่ตำบล U2T for BCG เป็นโครงการที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เปิดรับบัณฑิตจบใหม่และประชาชนในพื้นที่ 7,435 ตำบล 77 จังหวัด ทำงานร่วมกับมหาวิทยาลัยรัฐ 70 กว่าแห่ง มหาวิทยาลัยเอกชน 20 แห่ง ตลอดจนภาคประชาสังคม หน่วยงานในพื้นที่ และภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ในการขับเคลื่อนโครงการ U2T for BCG เพื่อยกระดับเศรษฐกิจฐานราก มีวัตถุประสงค์ในการจัดสรรบุคลากรที่มีศักยภาพทั้งที่ยังอยู่ในระหว่างการหางาน หรือกำลังทำงานอยู่ในปัจจุบัน เพื่อช่วยเหลือชุมชนต่างๆ ให้มีการเติบโตและรายได้ที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างยั่งยืน โดยผู้เข้าร่วมในโครงการนี้จะต้องเข้าไปทำงานกับชุมชน “เป็นระยะเวลา 3 เดือน” ผ่านการใช้หลักการ BCG เพื่อเพิ่มรายได้ของแต่ละตำบลทั้งสิ้นร้อยละ 10 นับจากวันเริ่มโครงการจนวันสิ้นสุดโครงการ โดยในปีงบประมาณ 2565 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง ดำเนินการในพื้นที่จังหวัดลำปาง 13 ตำบล จังหวัดลำพูน 2 ตำบล

ข่าว : จารุวรรณ  สุยะ
ภาพ / ที่มาของข่าว : ผศ.กนกวรรณ  เวชากามา/ อ.กีรติ วุฒิจารี







ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

Facebook Messenger icon