โลโก้เว็บไซต์ [[บทความแนวปฏิบัติที่ดี 2564]] ด้านการวิจัย การบริหารตราสินค้าแบบมีส่วนร่วม | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง

[[บทความแนวปฏิบัติที่ดี 2564]] ด้านการวิจัย การบริหารตราสินค้าแบบมีส่วนร่วม

เผยแพร่เมื่อ : จันทร์ 9 สิงหาคม 2564 โดย รัตนาภรณ์ สารภี จำนวนผู้เข้าชม 3042 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

 

ชื่อผลงาน “แนวปฏิบัติที่ดี” การบริหารตราสินค้าแบบมีส่วนร่วม
หน่วยงาน คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มทร.ล้านนา ลำปาง
ชื่อ-สกุล ผู้นำผลงาน ผู้ช่วยศาสตราจารย์กนกวรรณ เวชกามา
ประเภทผลงาน ด้านการวิจัย

 

บทสรุป

การศึกษาและพัฒนาห่วงโซ่คุณค่าตราสินค้ากาแฟพิเศษในเขตภาคเหนือตอนบน เพื่อความได้เปรียบในการแข่งขันในอุตสาหกรรมกาแฟในภูมิภาคอาเซียน ที่มีการคลี่ภาพตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ จากห่วงโซ่อุปทานกาแฟพิเศษนำไปสู่การเพิ่มมูลค่าเพื่อประโยชน์ทางการแข่งขันในตลาดกาแฟคือการบริหารตราสินค้ากาแฟพิเศษแบบมีส่วนร่วม โดยมีผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในเส้นทางกาแฟพิเศษจำนวน 24 ราย 3 พื้นที่คือ บ้านป่าเหมี้ยง บ้านแม่แจ๋ม (จังหวัดลำปาง) และบ้านร่มเย็น (จังหวัดเชียงราย)    ตราสินค้ากาแฟพิเศษอันได้มาจากกิจกรรมการระดมสมองของพื้นที่กรณีศึกษา  เอกลักษณ์ของพื้นที่แบบมีส่วนร่วมเพื่อเป็นการร่วมสร้างเอกลักษณ์เฉพาะ ถ่ายทอดแนวคิดสู่การออกแบบตราสินค้า และกระบวนการการจัดการองค์ความรู้เกี่ยวกับการบริหารตราสินค้ากาแฟพิเศษตามรูปแบบและกระบวนการที่ได้จากการศึกษาคือ  B (Brainstorming) D (Designing) S (Sharing)  C (Checking) and  P (Perception)  เป็นองค์ความรู้และรูปแบบใหม่การจัดการตราสินค้าแบบมีส่วนร่วม โดยมีการเผยแพร่ผ่านคู่มือการจัดการตราสินค้าคืนสู่ชุมชนแบบมีส่วนร่วมเพื่อการมีสัญลักษณ์ ตราสินค้าในรูปแบบเดียวกันตลอดเส้นทางกาแฟพิเศษภาคเหนือตอนบน

 

 [[บทความแนวปฏิบัติที่ดี 2564]] ด้านการวิจัย การบริหารตราสินค้าแบบมีส่วนร่วม







ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

Facebook Messenger icon