โลโก้เว็บไซต์ มทร.ล้านนา ครองอันดับ 41 มหาวิทยาลัยในประเทศ ขึ้นอันดับ 8 มหาวิทยาลัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศโดย Webometrics 2021 (January)  | งานวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง

มทร.ล้านนา ครองอันดับ 41 มหาวิทยาลัยในประเทศ ขึ้นอันดับ 8 มหาวิทยาลัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศโดย Webometrics 2021 (January)

เผยแพร่เมื่อ : พฤหัสบดี 17 มิถุนายน 2564 โดย อภิญญา พูลทรัพย์ จำนวนผู้เข้าชม 1 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

                     ตามที่มีการจัดอันดับ University Web Ranking ประจำปี 2021 ของมหาวิทยาลัยทั่วโลก โดยองค์กรที่ทำการจัดประกอบด้วย Webometrics 2021  (January) ซึ่งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ได้รับการจัดอันดับประจำปี 2021 โดยครองอันดับ 41 มหาวิทยาลัยในประเทศ ครองอันดับ 8 ของกลุ่มมหาวิทยาลัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ(ไม่รวม AIT) และรั้งอันดับ 3 ของกลุ่มมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล

               การจัดอันดับโดย Webometrics http://www.webometrics.info/en/Asia/Thailand 

            ซึ่งเว็บโอเมตริกซ์ได้ทำการจัดอันดับมหาวิทยาลัยจากทั่วโลกโดยเป็นการวัดความสามารถและคุณสมบัติของมหาวิทยาลัยต่างๆ ในการเป็น “มหาวิทยาลัยอิเล็กทรอนิกส์” โดยอันดับของ Webometrics จะบอกถึงปริมาณและคุณภาพของสิ่งตีพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ในเว็บไซต์ของสถาบัน จัดทำโดย Cybermetrics Lab (Spanish National Research Council, CSIC) ซึ่งเป็นกลุ่มวิจัย ณ กรุงแมดดริต ประเทศสเปน Webometricsเริ่มจัดอันดับตั้งแต่ปี พศ. ๒๕๔๗ และจะจัดอันดับมหาวิทยาลัยปีละ ๒ ครั้ง ได้แก่ทุกๆ เดือนมกราคมและเดือนกรกฎาคม ข้อมูลจะถูกรวบรวมระหว่างวันที่ ๑ – ๒๐ ของเดือนมกราคม หรือกรกฎาคม วัตถุประสงค์ในการจัดอันดับมหาวิทยาลัยไม่ใช่เพื่อประเมินรูปแบบหรือความนิยมของเนื้อหาบนเว็บไซต์จากจำนวนครั้งของผู้เยี่ยมชม (Visitors) ดัชนีคอมโพสิตที่เว็บโอเมตริกซ์นำมาเป็นเกณฑ์ในการพิจารณาเชิงลึกของผลการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยในระดับโลกประกอบด้วย Visibility (คะแนน ๕๐%): Impact (๕๐%)คุณภาพของเนื้อหาจะถูกประเมินผ่านทาง “Virtual referendum” ซึ่งเป็นการให้คะแนนจำนวนเว็บเพจทั้งหมดของสถาบันที่ได้รับการเชื่อมโยง linkจากเว็บไซต์ภายนอก ข้อมูลจำนวนเครือข่ายภายนอกที่มีการเชื่อมโยง “backlinks” มายังเว็บของมหาวิทยาลัยนี้ จะถูกรวบรวมจากผู้จัดส่งข้อมูลที่สำคัญ ๒ รายได้แก่ Majestic SEO และ Ahrefs Activity (คะแนน ๕๐%)ซึ่งแบ่งเป็น ๓ องค์ประกอบย่อยดังนี้ PRESENCE (๕%) เป็นการให้คะแนนจากปริมาณเนื้อหาที่เผยแพร่ในเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยวัดจากดัชนีตามเครื่องมือของGOOGLE search engine ดัชนีของ google นี้จะนับจำนวนหน้าเว็บเพจแบบstatic และ dynamic ทั้งหมดโดยจะนับรวมจำนวน ของ rich files เช่น .pdfด้วย




ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา