โลโก้เว็บไซต์ อาจารย์ มทร.ล้านนา ลำปาง ถ่ายทอดองค์ความรู้และแลกเปลี่ยนมุมมองแผ่นกรองอากาศจากเส้นใยสับปะรด | คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง

อาจารย์ มทร.ล้านนา ลำปาง ถ่ายทอดองค์ความรู้และแลกเปลี่ยนมุมมองแผ่นกรองอากาศจากเส้นใยสับปะรด

เผยแพร่เมื่อ : ศุกร์ 8 มีนาคม 2567 โดย จารุวรรณ สุยะ จำนวนผู้เข้าชม 1 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

         อาจารย์อนาวิล  ทิพย์บุญราช  อาจารย์ประจำหลักสูตรวิศวกรรมอุตสาหการ (วิศวกรรมการผลิต)) คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง (มทร.ล้านนา ลำปาง) ถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับการทำแผ่นกรองอากาศและแลกเปลี่ยนมุมมองเกี่ยวกับการนำเอาเส้นใยจากใบสับปะรดมาเป็นองค์ประกอบในการทำแผ่นกรองอากาศเพื่อบรรเทาผลกระทบจากฝุ่น แก่นักเรียนโรงเรียนมัธยมวิทยา ทีมเด็กดอยMeดี ในโอกาสส่งผลงานเข้าร่วมประกวดโครงการ เด็กอวด (ทำ) ดี ปีที่ 2 โดยสำนักฯนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2567 ที่ผ่านมา
       อาจารย์อนาวิล  ทิพย์บุญราช เปิดเผยว่า การถ่ายทอดองค์ความรู้ฯ ดังกล่าว เป็นหนึ่งในพันธกิจด้านการบริการวิชาการของมหาวิทยาลัยฯ โดยมีเนื้อหาเชื่อมโยงกับรายวิชาที่สอนคือวิศวกรรมความปลอดภัย หัวข้อการออกแบบระบบระบายอากาศ การวางผังโรงงานและเครื่องกรองอากาศ ซึ่งกลุ่มนักเรียนมีความตั้งใจในการจัดทำโครงงาน เนื่องจากจังหวัดลำปางประสบปัญหาด้านฝุ่นควันในทุกปี และเห็นว่าสับปะรดเป็นหนึ่งในพืชเศรษฐกิจของจังหวัดลำปาง จึงมีแนวคิดในการนำเส้นใยสับปะรดมาเป็นส่วนหนึ่งในการทำแผ่นกรองอากาศ ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องใหม่มากในวงการอุตสาหกรรม จึงต้องใช้แหล่งผลิตและเทคโนโลยีระดับสูงซึ่งจำเป็นต้องใช้เวลาในการทดลองหากต้องการให้ผลิตภัณฑ์ออกมาสมบูรณ์แบบในเชิงพาณิชย์ ในการเสวนาครั้งนี้จึงได้แนะนำทีมนักเรียนให้ลองนำเอาเส้นใยใบสับปะรดมาปั่นเป็นเส้นเล็กๆ โดยสิงประดิษฐ์ที่นักศึกษาหลักสูตรวิศวกรรมอุตสาหการ (วิศวกรรมการผลิต) มทร.ล้านนาลำปาง ผลิตขึ้น แล้วนำไปผ่านกระบวนการผสมกับใยแก้วเซรามิกจะสามารถขึ้นรูปโมเดลตัวอย่างแผ่นกรองได้ดีเช่นกัน
       ทั้งนี้ภายหลังจากการทดลองสร้างต้นแบบแผ่นกรองอากาศจากเส้นใยสับปะรด น้องๆ นักเรียนได้นำมาทดสอบในห้องปฎิบัติการ (แบบไม่เต็มระบบ) กล่าวคือ นำมาทดสอบทางด้านฟิสิกส์ ที่อาคารปฏิบัติการกลาง เพื่อทดสอบทางเคมี  ทดสอบเส้นใย โดยได้รับคำปรึกษาและถ่ายทอดความรู้จากอาจารย์สาขาวิทยาศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร และทำการทดสอบทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ โดยการทดสอบแรงกด ความหนา และการไหลผ่านของอากาศ เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2567 ที่ผ่านมา ซึ่งภายหลังจากการปรับปรุง พัฒนาผลงานให้เป็นที่พอใจแล้ว ทีมเด็กดอยMeดี จะได้นำเสนอผลงานในรอบ 50 ทีมในระดับประเทศต่อไป อาจารย์อนาวิล กล่าวในตอนท้าย
       ข่าว : จารุวรรณ  สุยะ
       ภาพ : อาจารย์อนาวิล  ทิพย์บุญราช / โรงเรียนมัธยมวิทยา สืบค้นได้จาก 
   







ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา