โลโก้เว็บไซต์ คณะทำงานโครงการบัณฑิตพันธุ์ใหม่ คณะวิทยาศาสตร์ฯ ลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้า เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการในพื้นที่จังหวัดลำปาง | คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง

คณะทำงานโครงการบัณฑิตพันธุ์ใหม่ คณะวิทยาศาสตร์ฯ ลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้า เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการในพื้นที่จังหวัดลำปาง

เผยแพร่เมื่อ : พุธ 18 มีนาคม 2563 โดย วิทยา กวีวิทยาภรณ์ จำนวนผู้เข้าชม 1 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

วันที่ 17 มีนาคม พ.ศ.2563 รศ.ดร.ธีระศักดิ์ อุรัจนานนท์ รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการและกิจการนักศึกษา พร้อมด้วย ดร. ปิยมาสฐ์  ตัณฑ์เจริญรัตน์ รองคณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มทร.ล้านนา ลำปาง ผศ.จรูญ สินทวีวรกุล ผู้อำนวยการกองการศึกษา มทร.ล้านนา ลำปาง และนายชำนาญ ใจช่วย หัวหน้าประมงอำเภอเมืองลำปาง ร่วมการประชุมสรุปการดำเนินงานและลงพื้นที่ตรวจติดตามผลการดำเนินโครงการบัณฑิตพันธุ์ใหม่ หลักสูตรประกาศนียบัตรการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ (Non-degree) คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร ของกลุ่มเกษตรกรสมาชิกในโครงการ จังหวัดลำปาง เพื่อประเมินศักยภาพ ความก้าวหน้า และรับฟังปัญหาตลอดจนให้คำแนะนำทางด้านวิชาการอันจะทำให้เกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการประสบผลสัมฤธิ์ตามเป้าหมาย สามารถผ่านเกณฑ์ตามตัวชี้วัดบัณฑิตพันธุ์ใหม่ และต่อยอดเป็นศูนย์การเรียนรู้ทางด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้กับชุมชน 
     โดยมีอาจารย์เรืองพันธุ์ ทรัพย์มี อาจารย์ประจำหลักสูตรสัตวศาสตร์และประมง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มทร.ล้านนา ลำปาง หัวหน้าโครงการบัณฑิตพันธุ์ใหม่ หลักสูตรประกาศนียบัตรการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ พร้อมด้วยอาจารย์สมเกียรติ ตันตา อาจารย์ประจำหลักสูตรสัตวศาสตร์และประมง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มทร.ล้านนา ลำปาง ให้การต้อนรับและนำคณะทำงานลงพื้นที่ สำหรับกลุ่มเกษตรกรที่คณะทำงานได้ลงพื้นที่ติดตามประกอบด้วย
1.นางบุปผา หมดดี ต.บ้านขอ อ.เมืองปาน
2.นางรุ่งนภา เต็มเมือง ต.บ้านเอื้อม อ.เมืองลำปาง
3.นายทศพล บุญดิเรก อ.เมืองลำปาง
4. นายนพคล วงค์อ๊อด อ.เมืองลำปาง
และ 5.นายวิรัตน์ จันทร์อ่อน อ.เมืองลำปาง
     โครงการบัณฑิตพันธุ์ใหม่ ในส่วนของมทร.ล้านนา ดำเนินโครงการในสองรูปแบบได้แก่แบบมีปริญญา (degree) และแบบไม่มีใบปริญญา (Non-degree) เพื่อสร้างกำลังคนที่มีสมรรถนะและ ศักยภาพสูง สำหรับการทำงานใน  อุตสาหกรรมใหม่สู่ New S-Curve และเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ (New Growth Engines) และผลิตกำลังคนที่มีความรู้ความสามารถในการเรียนรู้ การบริหารจัดการและบูรณาการเทคโนโลยีสมัยใหม่ ตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ







ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา