โลโก้เว็บไซต์ มทร.ล้านนา ร่วมสนับสนุน กอ.รมน. - วช. ยกระดับศักยภาพชุมชนด้วยนวัตกรรมงานวิจัย ส่งมอบนวัตกรรมสู้ภัยแล้งในพื้นที่ภาคเหนือ  | งานวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง

มทร.ล้านนา ร่วมสนับสนุน กอ.รมน. - วช. ยกระดับศักยภาพชุมชนด้วยนวัตกรรมงานวิจัย ส่งมอบนวัตกรรมสู้ภัยแล้งในพื้นที่ภาคเหนือ

เผยแพร่เมื่อ : จันทร์ 9 มกราคม 2566 โดย อภิญญา พูลทรัพย์ จำนวนผู้เข้าชม 1 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

               วันที่ 6 มกราคม 2566 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จัตตุฤทธิ์ ทองปรอน รักษาราชการแทน อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ร่วมพิธีส่งมอบนวัตกรรมและเยี่ยมชมการสาธิตผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีของชุมชน จากการดำเนินโครงการ “การแก้ปัญหาภัยแล้งและยกระดับผลผลิตทางการเกษตรด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับชุมชนสังคม จังหวัดลำปางและสุโขทัย” โดยความร่วมมือของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) ร่วมกับ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเพื่อนำองค์ความรู้จากการวิจัยและนวัตกรรมมาใช้ประโยชน์ทางการเกษตร โดยมี พล.ท.อนุชา สังฆสุวรรณ ผู้อำนวยการศูนย์ประสานการปฏิบัติที่ 1 กอ.รมน. และ ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เป็นประธานในพิธีส่งมอบฯ ซึ่งมี นายชนาธิป เสมแย้ม รองผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง นายณัฏฐพงศ์ สุขวิสิฏฐ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุโขทัย ให้การต้อนรับ ณ องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านขอ อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง

                สำหรับพิธีส่งมอบผลงานนวัตกรรมที่ กอ.รมน. ร่วมกับ วช. นำมาส่งมอบให้กับพื้นที่ตำบลบ้านขอ อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง จำนวน 13 หมู่บ้าน ได้แก่ รถเข็นสูบน้ำพลังงานเซลล์แสงอาทิตย์ จำนวน 13 เครื่อง  สถานีสูบน้ำพลังงานเซลล์แสงอาทิตย์แบบลอยน้ำ จำนวน 1 สถานี เครื่องอบลมร้อนอเนกประสงค์พลังงานเซลล์แสงอาทิตย์เคลื่อนที่ได้ จำนวน 3 เครื่อง และ สถานที่แปรรูปผลผลิตทางการเกษตรตามมาตรฐาน GMP จำนวน 1 โรงงาน และนวัตกรรมที่ส่งมอบให้กับพื้นที่จังหวัดสุโขทัย ได้แก่ รถเข็นสูบน้ำพลังงานเซลล์แสงอาทิตย์ จำนวน 12 เครื่อง สถานีสูบน้ำพลังงานเซลล์แสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนบก จำนวน 1 สถานีเครื่องอบลมร้อนอเนกประสงค์พลังงานเซลล์แสงอาทิตย์เคลื่อนที่ได้ จำนวน 3 เครื่อง เครื่องอัดเม็ดปุ๋ยอินทรีย์ จำนวน 1 เครื่อง พร้อมผลิตภัณฑ์ต้นแบบ แพลตฟอร์มการบริหารจัดการกลุ่มอาชีพ และสื่อประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการตลาด และส่งมอบนวัตกรรมให้กับพื้นที่ตำบลท่าฉนวน อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย จำนวน 12 หมู่บ้าน ได้แก่ รถเข็นสูบน้ำพลังงานเซลล์แสงอาทิตย์ จำนวน 12 เครื่อง สถานีสูบน้ำพลังงานเซลล์แสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนบก จำนวน 1 สถานี เครื่องอบลมร้อนอเนกประสงค์พลังงานเซลล์แสงอาทิตย์เคลื่อนที่ได้ จำนวน 3 เครื่อง เครื่องอัดเม็ดปุ๋ยอินทรีย์ จำนวน 1 เครื่อง สถานที่แปรรูปผลผลิตทางการเกษตรตามมาตรฐาน GMP จำนวน 1 โรงงาน รวมทั้งผลิตภัณฑ์ต้นแบบ แพลตฟอร์มการบริหารจัดการกลุ่มอาชีพ และสื่อประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการตลาด

               โอกาสนี้ ผู้ทรงคุณวุฒิ วช. กอ.รมน. และทีมนักวิจัย ได้เยี่ยมชมการสาธิตผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีของชุมชน ประกอบไปด้วย รถเข็นสูบน้ำพลังงานเซลล์แสงอาทิตย์ เครื่องอบลมร้อนแบบพาราโบลาโดมแบบเคลื่อนที่ได้ ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปจากผลผลิตทางการเกษตร และการบริหารจัดการกลุ่มอาชีพ นำเสนอโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ชาคริต ชาญชิตปรีชา รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จัตตุฤทธิ์ ทองปรอน รักษาราชการแทน อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา คณะนักวิจัยในโครงการฯ พร้อมทั้งเยี่ยมชมสถานที่แปรรูปผลผลิตทางการเกษตรตามมาตรฐาน GMP ณ วิสาหกิจชุมชนน้ำพริกฆ้องคำ ตำบลบ้านขอ อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง ซึ่งการลงพื้นที่ในครั้งนี้นำไปสู่การสร้างเสริมศักยภาพชุมชนสร้างเศรษฐกิจฐานราก ส่งเสริมเศรษฐกิจระดับท้องถิ่นให้มีความเข้มแข็ง สามารถพึ่งพาตนเองได้ อันจะนำไปสู่การสร้างโอกาส สร้างอาชีพ และยกระดับมาตรฐานความเป็นอยู่ของประชาชนในท้องถิ่นให้ดีขึ้นตามแผนยุทธศาสตร์ชาติอย่างเป็นรูปธรรม





ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา