เผยแพร่เมื่อ : อาทิตย์ 1 กันยายน 2567 โดย Pakawadee Wutthiwai จำนวนผู้เข้าชม 3 คน
เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2567 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรรณพ ทัศนอุดม ผู้ช่วยอธิการบดีและผู้อำนวยการศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา (มทร.ล้านนา) เป็นประธานในพิธีมอบรางวัลให้แก่ผู้ชนะเลิศจากกิจกรรมการประกวด Smart Start Idea ประจำปี 2567 ณ ห้องประชุมแคฝรั่ง ชั้น 6 อาคารเรียนรวม มทร.ล้านนา โดยมีนักศึกษาเข้าร่วมแสดงทักษะการนำเสนอไอเดียธุรกิจที่มีคุณค่าและสร้างสรรค์อย่างเต็มที่
ผลการประกวดมีทีมที่ได้รับรางวัลรวม 3 ทีม ได้แก่:
รางวัลชนะเลิศ : ทีม SUSTAINERGY กับผลงาน "Last Minute Shop" ได้รับทุนการศึกษา 5,000 บาท ทีมประกอบด้วย นางสาวลภัสรดา ลุงสุก, นางสาวสุภาพร มิตรสาธิต และนางสาวหนึ่งฤทัย ศรีเรือน โดยมีอาจารย์อิศร์ วัจนสุนทร คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ เป็นที่ปรึกษา
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 : ทีม YOLO กับผลงาน "กลาโนล่าบาร์ HiBer สูตร Hi-Fiber, Hi-Protein" ได้รับทุนการศึกษา 3,000 บาท ทีมประกอบด้วย นางสาวพลอยพรรณ ปัตถา, นางสาวสุกฤตา กันธา,
นางสาวชลธิชา ร่องช้าง, นางสาวสุพิชชา ยาธรรม และนางสาวธัญชนก ปินเหลา โดยได้รับการแนะนำจากอาจารย์ประจำคณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ ศูนย์พัฒนาความเป็นเลิศทางวิชาชีพและเทคโนโลยี คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ ได้แก่ ดร.ปฐมชัย กรเลิศ, อาจารย์ธันวารินทร์ ต๊ะเสาร์, อาจารย์เตชิษ สันสี และคุณณัฐพงศ์ นิลคำ รวมถึงผู้ประกอบการในเครือ บริษัท ผึ้งน้อยเบอเกอรี่ จำกัด คุณธรณินทร์ คำรินทร และคุณศวัส ทิพย์คำ ผู้จัดการแผนกวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 : ทีม TSB กับผลงาน "ถ่านอัดแท่งจากพลังงานชีวมวล" ได้รับทุนการศึกษา 2,000 บาท ทีมประกอบด้วย นางสาวจิรัชญา บาลเย็น, นางสาวณิชารีย์ กาไลเพ็ชร์, นางสาวฐิติรัตน์ เทียมสิงห์, นางสาวศศิวิมล สมบัติเจริญ, นางสาวเมธา พลโยธี, นายภีมวัฒน์ ยศอิ และนางสาวภาวินี ลุงสุข โดยได้รับการแนะนำจากอาจารย์ประจำวิชาเอกธุรกิจการค้าและบริการ ร่วมกับ ศูนย์พัฒนาความเป็นเลิศทางวิชาชีพและเทคโนโลยี คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ ได้แก่ ดร.พีรยา สมศักดิ์, ดร.ริญญาภัทร์ เขจรนันทน์, อาจารย์ธาณุพรรณ ณ สงขลา, อาจารย์เตชิษ สันสี, นางสาวกาญจน์ชนิต กันชะนะ และนายรณชัย กมลทิพย์วงศ์
กิจกรรมประกวด Smart Start Idea เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ GSB Micropreneur Academy ซึ่งจัดโดยความร่วมมือระหว่างธนาคารออมสิน และมทร.ล้านนา เพื่อส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพของนักศึกษาให้ก้าวสู่การเป็นผู้ประกอบการรุ่นใหม่ โดยเน้นการนำเสนอไอเดียที่สอดคล้องกับแนวคิด ESG (Environment, Social, Governance) และสนับสนุนการสร้างนวัตกรรมที่มีผลกระทบเชิงบวกต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ มทร.ล้านนา ยังคงมุ่งมั่นในการพัฒนาศักยภาพของนักศึกษาและบุคลากรทุกระดับ เพื่อให้พวกเขามีโอกาสในการเป็นผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จในยุคที่เทคโนโลยีและนวัตกรรมเป็นปัจจัยสำคัญต่อการเติบโตของธุรกิจในอนาคต
ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา