โลโก้เว็บไซต์ คณะวิทย์ฯ มทร.ล้านนา จัดโครงการอบรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ  การส่งเสริมทักษะบัณฑิตสู่การเป็นผู้ประกอบการด้านเกษตรและอาหาร  ด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีผ่านภูมิปัญญาท้องถิ่นและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ สู่ BCG Model | งานวิจัยและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง

คณะวิทย์ฯ มทร.ล้านนา จัดโครงการอบรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ การส่งเสริมทักษะบัณฑิตสู่การเป็นผู้ประกอบการด้านเกษตรและอาหาร ด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีผ่านภูมิปัญญาท้องถิ่นและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ สู่ BCG Model

เผยแพร่เมื่อ : อังคาร 28 กุมภาพันธ์ 2566 โดย นคร คำกิติ จำนวนผู้เข้าชม 2177 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

     วันที่ 28 ก.พ. 2566 รองศาสตราจารย์ ดร.สุนทร วิทยาคุณ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร เป็นประธานเปิดการจัดอบรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ การส่งเสริมทักษะบัณฑิตสู่การเป็นผู้ประกอบการด้านเกษตรและอาหารด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีผ่านภูมิปัญญาท้องถิ่นและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ สู่ BCG Model  ภายใต้โครงการ "ปฏิรูปมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา สู่การเป็นมหาวิทยาลัยแห่งการพัฒนาเทคโนโลยีและส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีชั้นนำระดับสากลเพื่อชุมชนประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565" ณ อาคารอเนกประสงค์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง โดยได้รับเกียรติจาก คุณเมธัส สุริวงษ์นา ผูู้จัดการศูนย์กลุ่มจังหวัดให้บริการ SME ครบวงจร ภาคเหนือตอนล่าง 1 สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ สสว. เป็นวิทยากรบรรยายพิเศษ เรื่อง "เทรนด์การตลาดและกระแสธุรกิจเพื่อขับเคลื่อนความคิดเชิงสร้างสรรค์นวัตกรรม สู่การเป็นผู้ประกอบการยุคใหม่"  

     ซึงวัตถุประสงค์โครงการเพื่อส่งเสริมทักษะบัณฑิตสู่การเป็นผู้ประกอบการด้านเกษตรและอาหาร ด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม ผ่านภูมิปัญญาท้องถิ่น เศรษฐกิจสร้างสรรค์ สู่ BCG Model สร้างเสริมแนวคิดและแนวทางการเป็นผู้ประกอบการ โดยจัดให้นักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นปีที่ 3 และ 4 เกิดทักษะทั้งด้านความคิดสร้างสรรค์ กรผลิต การตลาด การจัดการ และการบริหารการเงินซึ่งเป็นทักษะที่จำเป็นในการประกอบการเชิงธุรกิจ ที่จะสามารถให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาในการขอรับการสนับสนุนเงินทุนประกอบการได้ อีกทั้งเป็นบัณฑิตที่มีขีดความสามารถในการเป็นผู้ประกอบการ และเป็นที่ต้องการของประเทศต่อไป

    และในช่วงภาคบ่ายได้มีการแข่งขันการนำเสนอผลงานการดำเนินงานสร้างนวัตกรรมด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีผ่านภูมิปัญญาท้องถิ่น เศรษฐกิจสร้างสรรค์ และการต่อยอดธุรกิจ จากการส่งเสริมการพัฒนาทักษะและสมรรถนะการเป็นผู้ประกอบการ Entrepreneurial Skills ให้กับนักศึกษาได้มีทักษะการประกอบการที่พัฒนา หรือสร้างจากความรู้ในสายอาชีพ โดยการสร้างเสริมเพิ่มทักษะ Soft skills ผ่านการปฎิบัติงานจริง ลงมือทำ ลงทุนจริง เพื่อสร้างต้นแบบนวัตกรรม ต้นแบบธุรกิจ และให้ทุนสนับสนุนกลุ่มนักศึกษาพัฒนาทักษะวิชาชีพ และได้มานำเสนอผลการดำเนินการในครั้งนี้ จำนวน  12 ทีม 

 

ขอบคุณภาพจาก PR ราชมงคลล้านนา ลำปาง






ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา