โลโก้เว็บไซต์ มทร.ล้านนา ลำปาง จัดอบรมเชิงปฏิบัติการออกแบบและเขียนโปรแกรมควบคุมอุปกรณ์ไฟฟ้าในรูปแบบ STEM Education พัฒนาศักยภาพผู้เรียนสู่โรงเรียนต้นแบบ | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง

มทร.ล้านนา ลำปาง จัดอบรมเชิงปฏิบัติการออกแบบและเขียนโปรแกรมควบคุมอุปกรณ์ไฟฟ้าในรูปแบบ STEM Education พัฒนาศักยภาพผู้เรียนสู่โรงเรียนต้นแบบ

เผยแพร่เมื่อ : พุธ 5 กันยายน 2561 โดย จารุวรรณ สุยะ จำนวนผู้เข้าชม 1088 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

          คณะดำเนินงาน  STEM Education มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง จัดอบรมเชิงปฏิบัติการออกแบบและเขียนโปรแกรมควบคุมอุปกรณ์ไฟฟ้าแก่นักศึกษาวิทยาลัยอาชีวศึกษาลำปาง ในรูปแบบสะเต็มศึกษาเพื่อพัฒนาศักยภาพผู้เรียนระดับอาชีวศึกษาและเตรียมความพร้อมสู่การศึกษาต่อในสายอาชีพให้มีประสิทธิภาพ ณ วิทยาลัยอาชีวศึกษาลำปาง ระหว่างวันที่ 1 -2 กันยายน 2561
          อาจารย์อำนาจ  ผัดวัง  หัวหน้าทีมวิทยากรจัดอบรมเชิงปฏิบัติการออกแบบและเขียนโปรแกรมควบคุมอุปกรณ์ไฟฟ้าในรูปแบบ STEM Education กล่าวว่า จากการดำเนินงานของทีมงาน STEM ภายใต้โครงการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายอุดมศึกษาพี่เลี้ยง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง ในปี 2560 วิทยาลัยอาชีวศึกษาถือเป็นหนึ่งในสถาบันการศึกษาเครือข่ายที่จะต้องมีการส่งเสริมและสนับสนุนให้มีทักษะวิชาชีพก่อนเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี  ซึ่งการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการออกแบบและเขียนโปรแกรมควบคุมอุปกรณ์ไฟฟ้าในรูปแบบ STEM Education เป็นกระบวนการหนึ่งในการสนับสนุนและส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้โดยการบูรณาการศาสตร์วิชาต่างๆร่วมกัน  เพื่อให้นักศึกษาเกิดกระบวนการเรียนรู้ การคิดวิเคราะห์อย่างสร้างสรรค์ และการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ
          สำหรับการจัดอบรมดังกล่าวมีการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการเขียนโปรแกรมด้วย Appinventor ภายใต้กระบวนคิดแบบสะเต็มศึกษา ซึ่งมหาวิทยาลัยฯ ได้สนับสนุนอุปกรณ์ในการดำเนินโครงการในปีแรก เช่น บอร์ด arduino แผงวงจรรีเลย์ บอร์ด Bluetooth เพื่อให้นักศึกษาได้ใช้ในการฝึกปฏิบัติ ทั้งนี้ในปีที่สองเป็นการต่อยอดองค์ความรู้แก่คณะครูและนักศึกษา ในการนำไปประยุกต์ใช้สร้างนวัตกรรมการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับความต้องการของการพัฒนากำลังคนในสายอาชีวศึกษา ตามความต้องการการพัฒนาประเทศ ทั้งนี้มีอาจารย์ประสงค์  วงศ์ชัยบุตร อาจารย์จิรพล  ทาแกง อาจารย์อำนาจ  ผัดวัง อาจารย์ชนิกา  ฉัตรสูงเนิน และอาจารย์เพียงกานต์  นามวงค์ เป็นวิทยากรในการจัดอบรม ทั้งนี้มีนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) และคณะครูวิทยาลัยอาชีวศึกษา เข้าร่วมอบรมกว่า 100 คน หัวหน้าทีมวิทยากร กล่าวในตอนท้าย
         ข่าว / ภาพ : จารุวรรณ  สุยะ
         ที่มาของข่าว : อ.ประสงค์  วงศ์ชัยบุตร /อ.อำนาจ  ผัดวัง







ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา