โลโก้เว็บไซต์ คณะทำงานโครงการหมู่บ้านวิทยาศาสตร์ฯ  มทร.ล้านนา ลำปาง  จัดอบรมการพัฒนาผลิตภัณฑ์นวดแผนไทยจากเซรามิกให้ได้คุณภาพ | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง

คณะทำงานโครงการหมู่บ้านวิทยาศาสตร์ฯ มทร.ล้านนา ลำปาง จัดอบรมการพัฒนาผลิตภัณฑ์นวดแผนไทยจากเซรามิกให้ได้คุณภาพ

เผยแพร่เมื่อ : พฤหัสบดี 1 มิถุนายน 2560 โดย จารุวรรณ สุยะ จำนวนผู้เข้าชม 1615 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

          วันเสาร์ที่ 27 พฤษภาคม 2560  คณะทำงานโครงการหมู่บ้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง จัดอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยีหมู่บ้านผลิตภัณฑ์ลูกประคบจากเซรามิกสู่การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์นวดแผนไทย (ลูกประคบ) จากเซรามิกให้ได้คุณภาพ แก่ผู้เข้าร่วมอบรม 20 ราย ณ ศาลาการเปรียญวัดศาลาบัวบก ม.8 ต.ท่าผา อ.เกาะคา จ.ลำปาง  
          ผศ.เพียงพิมพ์ ชิดบุรี หัวหน้าโครงการหมู่บ้านผลิตภัณฑ์ลูกประคบจากเซรามิกสู่การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ กล่าวว่า การจัดอบรมในครั้งนี้เป็นกิจกรรมที่สืบเนื่องจากเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทัศนคติร่วมกันของคนในชุมชน เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของคนในชุมชนให้สามารถประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการผลิตผลิตภัณฑ์ให้เหมาะสมสอดคล้องกับบริบทของชุมชนอย่างยั่งยืน สามารถช่วยเหลือชุมชนอื่นๆโดยรอบ อีกทั้งเพื่อพัฒนาหมู่บ้านเป้าหมายให้เป็นหมู่บ้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีด้านการผลิต การพัฒนาผลิตภัณฑ์นวดแผนไทยจากเซรามิกสู่การท่องเที่ยวชิงสุขภาพได้
          สำหรับการอบรมดังกล่าวมีการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านความสำคัญของมาตรฐานผลิตภัณฑ์ การพัฒนาลวดลายบนผ้าลูกประคบจากเซรามิกด้วยสีย้อมธรรมชาติ  หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันของการอภิปรายและซักถาม โดยมี  ผศ.เพียงพิมพ์ ชิดบุรี ผศ.วรัญญา ธาราเวชรักษ์ ดร.ปัทม์ ปราณอมรกิจ อ.สุรีวัลย์ ชุ่มแก้ว ผศ.ดร อภิชาติ ชิดบุรี อ.พิทักษ์  พุทธวรชัย น.ส. เกษชไม  บุญโสม และ น.ส.สุนิสา ติ๊บคำ เป็นวิทยากรและผู้ร่วมดำเนินโครงการ หัวหน้าโครงการกล่าวในตอนท้าย
          ข่าว : จารุวรรณ  สุยะ
          ภาพ : คณะทำงานโครงการหมู่บ้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มทร.ล้านนา ลำปาง
          ที่มาของข่าว : คลินิกเทคโนโลยี มทร.ล้านนา ลำปาง 








ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา