โลโก้เว็บไซต์ คณะวิทย์ฯ มทร.ล้านนา จัดโครงการติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ U2T พื้นที่ตำบลนาคอเรือ อำเภอฮอด | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง

คณะวิทย์ฯ มทร.ล้านนา จัดโครงการติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ U2T พื้นที่ตำบลนาคอเรือ อำเภอฮอด

เผยแพร่เมื่อ : ศุกร์ 5 พฤศจิกายน 2564 โดย นคร คำกิติ จำนวนผู้เข้าชม 2930 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

         วันที่ 4 พฤศจิกายน 2564 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา จัดโครงการติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ U2T พื้นที่ตำบลนาคอเรือ อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีนายสิทธิ์ วงศ์ม่าน  นายอำเภอฮอด ได้กล่าวต้อนรับคณะกรรมการและรับฟังการดำเนินงาน พร้อมกับคณะกรรมการได้แก่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุวิชช์ ธนะศานวรคุณ รองคณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร เป็นประธานในการตรวจติดตามและประเมินผล พร้อมด้วยคณะกรรมการจากตัวแทนแต่ละคณะฯได้แก่ อาจารย์ณัฐวุฒิ  สังข์ทอง อาจารย์นพรัตน์ เตชะพันธ์รัตนกุล ดร.อัมพิกา ราชคม จากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร  อาจารย์อำพร กันทา จากคณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ และนายวธัญญู วรรณพรหม จากวิศวกรรมศาสตร์ โดยวัตถุประสงค์ของโครงการฯ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานโครงการให้ตอบสนองเป้าประสงค์ และติดตามประเมินผลการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพ เกิดผลสัมฤทธิ์ในการดำเนินงานโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมแบบบูรณาการ ในการนี้ นายสิทธิ์ วงศ์ม่าน นายอำเภอฮอดพร้อมคณะกรรมการร่วมเปิดศูนย์จำหน่ายสินค้าภายใต้โครงการฯและของดีอำเภอฮอด ณ ที่ว่าการอำเภอฮอด

            โดยพื้นที่ ตำบลหนาคอเรือ อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ ดำเนินการโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชินานาฏ วิทยาประภากร และทีมนักศึกษาภายใต้โครงการฯ โดยดำเนินการพัฒนาผ่านการหารือร่วมกันของภาคีเครือข่ายผู้นำชุมชน พัฒนาชุมชน สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยและกลุ่มประชาชนในพื้นที่ ในการพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ชุมชน และทรัพยากรที่มีในตำบลนาคอเรือให้เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ และสามารถนำไปสู่การจัดจำหน่ายที่ยั่งยืน โดยอาศัยศักยภาพคนในชุมชน และสร้างต้นแบบการพัฒนาเพื่อให้ทำหน้าที่ดูแล ต่อยอดให้เกิดการพัฒนาในระยะยาวได้อย่างต่อเนื่อง 







ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา